วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สรุปบทที่ 8 Bcom 4202 การจัดการธุรกิจอิเล็คทรอนิกส์

E-Marketing



@ E-Marketing  ย่อมาจากคําว่า Electronic Marketing หรือเรียกว่า “การตลาดอิเล็กทรอนิกส์” หมายถึงการดําเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัย และ สะดวกต่อการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่วาจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรื่อพีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ต มาผสมผสานกับวิธีการทางการ ตลาด การดําเนินกิจกรรมทางการตลาด อย่างลงตัวกับลูกค้าหรื่อกลุ่มเป้าหมาย เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์่กรอยางแท้จริง


e-marketing plan

@ วัตถุประสงค์ของโครงสร้างการทํา E-marketing Plan เพื่อ- Cost reduction and value chain efficiencies- Revenue generation- Channel partnership.- Communications and branding



Marketing defined
@ Marketing is the management process responsible for identifying, anticipating and satisfying customer requirements profitably.

Distinguishing between e-marketing,
e-business LOGO
and e-commerce

E-marketing planning
การวางแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดของกลยุทธ์การทํา
e – business@ the SOSTAC™ framework developed by
Paul Smith (1999) ซี่งสามารถสรุปขั้นตอนที่เกี่ยวข้องได้ 6 ขั้นตอนด้วยกัน คือ-Situation – where are we now?
- Objectives – where do we want to be?
- Strategy – how do we get there?
- Tactics – how exactly do we get there?
- Action – what is our plan?
- Control – did we get there?




-เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากกว่า 800 ล้านคน 225 ประเทศ 104 ภาษา-สามารถวัดผลได้แม่นยำกว่าสืออืน-ราคาลงโฆษณาถูกกว่าเมื่อเทียบกับสืออืน-จํานวนผู้ใช้สือนีเพืมขึนเรือยๆ-คุณภาพของผู้ไช้มีมากกว่าสืออืน

ในโลกจริง


www.Tohome.com
      เป็นการให้บริการบนอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว ไม่ มีธุรกิจ


            www.TARAD.com
          Click and Mortar


เป็นรูปแบบทีjมีธุรกิจจริง (Real) อยู่แล้วแต่ขยายมาทําในอินเทอร์เน็ต

www.VijitMarketThai.com



เปรียบเทียบกันระหว่าง2 โมเดล
Click & Click
ข้อดี
-ต้นทุนต่ำ ใช้คนน้อย (คนเดียวก็ทําได้)
-เริ่มต้นได้ง่าย
-เปิดกว้างมากกว่า
-ไม่ต้องมีความชำนาญมาก ก็เริ่มทําได้
ข้อเสีย
-ขาดความชำนาญ
-สร้างฐานลูกค้าใหม่
-รองรับลูกค้า Online ได้อย่างเดียว
-ความน่าเชือถือน้อย
Click & Mortar

ข้อดี
-มีความเชียวชาญ
-มีลูกค้าอยู่แล็ว
-น่าเชือถือ
-รองรับลูกค้าได้ online และ Offline
ข้อเสีย
-ต้นทุนสูง ใช้คนมาก
-ใช้เวลาในการจัดทํา

การเริ่มต้นการตลาดออนไลน์

1.กำหนดเป้าหมาย
เป้าหมายในการทําเว็บ คุณทําเว็บไปทําไม??
- ทําให้คนอื่นๆ รู้จักคุณ, องค์กรของคุณ
- ขายสินค้าของคุณ
- สําหรับช่วยเหลือและบริการหลังการขายกับลูกค้า
- ให้ข้อมูลสินค้าและไว้สําหรับเป็ นช่องทางในการติดต่อ
- เชื่อมโยงระหวางองค์กร เครื่อข่าย
- เห็นเค้ามีกัน เลยอยากมีบ้าง..!
กลุ่มเป้าหมายของคนที่จะเข้าเว็บคุณคือใคร ?
-อายุ, เพศ, การศึกษา, ฐานเงินเดือน, Location,กลุ่มธุรกิจ, ความชอบ ฯลฯ
-จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค (SWOT Analysis)
-แหล่งรายได้ของเว็บไซต์
-จุดเด่น หรือจุดแตกต่าง (Differentiate) ของคุณกบเว็บอื่นๆ

Understand customers

การหาลูกค้า
- Who – ลูกค้าคือใคร?
- Where – ลูกค้าอยูที่ไหน ?
- What – อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ?
- Why – ทําไมเค้าถึงต้องมาที่เรา?
- When – เมื่อไรที่เค้าต้องการเรา?

2. ศึกษาคู่แข่ง
1. คู่แข่งคุณคือใคร?
2. ศึกษารูปแบบการทําเว็บ, ธุรกิจของคู่แข่ง
3. จุดเด่น-จุดอ่อนอะไรบ้าง
4. ศึกษาเคาเตอร์ (Stat) ของคู่แข่ง
5. เข้าร่วมเว็บบอร์ดของคู่แข่ง  (ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้ ชอบไม่ชอบอะไร)
6. บอกรับจดหมายสมาชิกของคู่แข่ง
7. ขอข้อมูลที่เกียวข้องกับเว็บไซต์  (ราคาโฆษณา, สถิติ)
8. เข้าชมเว็บคู่แข่งเป็ นประจํา

3. สร้างพันธมิตร
-เว็บคู่แข่ง
-บุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในแวดวงธุรกิจเดียวกนั
-เว็บอื่นๆ ที่สามารถร่วมมือกันได้
-กับผู้เข้าชมเว็บไซต

4. ติดตั้งอุปกรณ์ที่จําเป็น
-เคาเตอร์วัดจํานวนคนเข้า
-ตัวเก็บสถิติ (Stat)
- Free Stat Service (www.Truehit.net, www.nedstat.com)
-เว็บบอร์ด
- Guest Book
-ตัวเก็บนับจํานวนคนในเว็บไซต์ขณะนั้น Option
-ห้าม Save ภาพในหน้าเว็บนั้น
เว็บที/สามารถไปหา Script ได้
• www.thscripts.com
• www.DynamicDrive.com
• www.hotscripts.com

5. ดูแลและปรับปรุงเว็บไซต์อยูเสมอ
-ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้, คู่แข่ง, ตลาด, สภาพแวดล้อม, เทคโนโลยี
-เปิ ดรับความคิดเห็นจากผู้ใช้
-ปรับปรุงเว็บไซต์อยู่เสมอ
-วางแผน ---- ปรับปรุง ---- โฆษณา ---- ประเมินผล

ก่อนการประชาสัมพันธ์
-เช็กว่าตัวเองพร้อมแล้วรึยัง  ? ข้อมูล?
- สร้างความคึกคัก(ข้อมูล) ของเว็บด้วยต้วเองก่อน
-เว็บเรามีจุดเด่นไหม มีอะไรที่จะทําให้ลูกค้ากลับมาอีก?
- หากรู้จักดาราหรือคนดัง ดึงมาช่วยเลย.!
-สร้าง logo และ สโลแกนที%น่าสนใจและจดจํา (ใช้ทุกๆหน้า)

วิธีการออนไลน์ (Online)
- Banner Advertising
- Search Engine Advertising
- E-mail Advertising
- Viral Marketing
- E-Marketplace Marketing
- วิธีอื่นๆ..
• วิธีการออฟไลน์ (Offline)
– แบบฟรี.!
– แบบเสียเงิน


ลูกค้าจะหาเว็บคุณเจอได้อยาไร ่ ?


11 วิธีการออกแบบแบนเนอร์ให้ได้ผล
1. ขนาดยิ่งใหญ่ยิ่งมีโอกาสการคลิกเยอะ
2. เปลี่ยนแบนเนอร์บ่อย (1 แคมเปญ ควรมีอย่างน้อยแบนเนอร์  2 แบบ)
3. ใช้คําพูดที่จูงใจ ดึงดูดในแบนเนอร์ เช่น “กดที่นี่” “โอกาสสุดท้าย”
4. ฟรี.! ยังเป็ นคําที่มีอนุภาคมากที่สุด
5. การใช้ภาพเคลื่อนไหว จะมีคนคลิกมากวา โฆษณาภาพนิ่ง (เคลื่อนไหวอย่างเร็ว )
6. การใช้เซ็กซ์ ช่วย.. ยังไงคนก็สนใจ
7. ใช้สีสันโดดเด่น มีคนสนใจมากกวา สีดําๆ ถมึ่นๆ
8. การออกแบบที่ดี
9. ขนาดไฟล์ของแบนเนอร์ไม่ควรใหญ่จนเกินไป
10.ทําลิงค์ไปหน้าที่ต้องการหลังจากกด แบนเนอร์
11.ทดสอบแบนเนอร์ก่อน ขึ้นจริงๆ

Search Engine Marketing


Search Engine Marketing
รูปแบบของ Search Engine

 Natural Search Engine Optimization (SEO)
เป็นการปรับแต่ง Key Word ให้ตรงกับเว็บไซต์
เมื่อมีการค้นหาผาน Search Engine ชื่อเว็บจะแสดงอยูในหน้า รายการของเว็บที่ค้นเจอ




- Paid Search Advertising (Pay Per Click Advertising)

เป็นการโฆษณาแบบ จ่ายเงินเพื่อทําให้เว็บของคุณ แสดงเมื่อมีการค้นหาใน Key Word  ที่คุณกําหนดไว้



E-Mail Marketing การตลาดผ่านอีเมล์
1. สร้าง Mail Marketing ของตัวเอง
2. ไปยืมรายชื่อคนอื่นๆส่งBlanketMail.com, Briefme.com, Colonize.com, MailCreations.com, TargetMails.com
3. ยิงมั่ว หรือ SPAM
4. ไปดูด Email จากแหล่งต่าง website, search engines, whois database,

วิธีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์-Online
ส่ง MSN, ICQ หาเพื%อนๆ แล้วให้ส่งต่อ
โปรโมตธุรกิจบนเว็บบอร์ดหรือ Community ต่างๆ


Raid Marketing (การตลาดแบบจู่โจม)
- ใช้คนเป็นจำนวนมากในการเข้าไป “สร้างกระแส” ตามแหล่งต่างๆ ที่มีคนเยอะ chat rooms, forums, discussion groups etc around the world- ใช้ความเป็น “ส่วนตัว” เข้าไปสร้างกระแสสังคมใน Virtual Community

ทำ Signature ใน E-Mail (Out-Look, Hotmail)- ทำทุกคนในบริษัท
- ใส่ข่าวสารหรือโฆษณาลงไปก็ได้

วิธีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์-Online
ลงทะเบียนใน Web Directory, Search Engine
ไปเขียนบทความที่อื่นๆ แล้วทำ link กลับมา
แจ้งผู้เข้าเยี่ยมชมเมื่อ เว็บปรับปรุงใหม่
แบบฟรี.!นำ URL ไปติดไว้ทุกที่ที่ติดได้ นามบัตร, หัว-ซองจดหมาย, ที่อยู่บริษัท
ติดสติกเกอร์หลังรถตัวเอง, เพื่อน, ญาติพี่น้อง, คนรู้จักและ ไม่รู้จัก

รูปแบบรายได้จากการทำเว็บไซต์- ขายโฆษณาออนไลน์
- ขายสินค้า E-Commerce
- ขายบริการหรือสมาชิก
- ขายข้อมูล (Content)
- การจัดกิจกรรม, งาน
- การให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ
- การรับพัฒนาเว็บไซต์

การทำโพล หรือ แบบสำรวจออนไลน์การทำโพล หรือ แบบสำรวจออนไลน์
- ใช้ฐานลุกค้าของเว็บไซต์นั้นๆ เป็นผู้ทำแบบสำรวจผ่านเว็บไซต์
ข้อดี..- ประหยัดค่าใช้จ่าย
- ประหยัดเวลา รวดเร็ว
- รู้ผลได้ทันที
- สะดวก
- เลือกกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน
- การได้ข้อมูลมาอย่างสะดวกและรวดเร็ว
- การวิเคราะห็ข้อมูลอย่างสะดวกรวดเร็ว
- ต้นทุนในการทำการวิจัยประหยัด
ช่องทางการทำ - ส่งผ่าน E-Mail
- ทำผ่านหน้าเว็บไซต์

ขายสินค้าทำ E-Commerce- การขายสินค้าผ่านหน้าเว็บ โดยคุณอาจจะมีสินค้าหรือไม่มีสินค้าก็ได้ เช่น notebook, Application
การขายบริการหรือสมาชิก- ให้บริการเช่า แอพพิลเคชั่น (ASP) Ex. Thaimisc, TARAD.com ขายบริกา
ขายข้อมูล- ค่าเข้าไปดูข้อมูลในเว็บไซต์ รูปภาพหรือข้อมูล Ex. Stock information, จำกัดการเข้าดู Ex. Balloon Album
จัดกิจกรรมและงาน- งานสัมมนา, งานสอน, การแข่งกีฬา การนัดพบปะสังสรรค์
การให้บริการผ่านมือถือ- SMS, Logo-Ringtone, 1900 Ex. Sanook MobileMagic, Siam2you , Monozone.com
การให้บริการผ่านมือถือ - www.SmileSMS.com  - www.Monozone.com
รูปแบบการชำระเงินแบบใหม่- Micro Payment - SMS Payment, IVR Payment (1900)
- SMS, Logo-Ringtone, 1900 Ex. Sanook MobileMagic, Siam2you , Monozone.com
การรับพัฒนาเว็บไซต์- ใช้ความรู้ที่มีในการรับพัฒนาเว็บไซต์ มาให้บริการ
- ออกแบบเว็บ (Web Design)
- เขียนโปรแกรม (Web Programming)
- ดูแลเว็บ (Web Maintenance)
- การตลาดออนไลน์ (Web Marketing)
- ที่ปรึกษา (Consultant)
- อาจนำทั้งหมดมาทำเป็น Package
Cs กับความสำเร็จของการทำเว็บ- C ontent (ข้อมูล)
- C ommunity (ชุมชน,สังคม)
- C ommerce (การค้าขาย)
- C ustomization (การปรับให้เหมาะสม)
- C ommunication, Channel (การสื่อสารและช่องทาง)
- C onvenience (ความสะดวกสบาย)

สรุปบทที่ 7 Bcom 4202 การจัดการธุรกิจอิเล็คทรอนิกส์

(Supply Chain Management : SCM)

    ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers, manufacturers, distributors เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าโดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ สินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกัน



ขั้นตอนวิวัฒนาการไปสู่ระบบการจัดการซัพพลายเชน

มีต้นแบบมาจากการส่งลำเลียงเสบียงอาหารและอาวุธยุโธปกรณ์ตามระบบส่งกำลังบำรุงของทหาร ต่อมาแนวความคิดดังกล่าวได้นำมาพัฒนาและดัดแปลงให้กับธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งสร้างคุณค่าและความพึงพอใจแก่ลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง

ระยะที่ 1 องค์กรในรูปแบบพื้นฐาน (The Baseline Organization)

เป็นรูปแบบการบริหารจัดการแบบดั้งเดิมที่ต้องการสร้างผลกำไรสูงสุดขององค์กร โดยเน้นความชำนาญในการทำงานของแต่ละแผนก/ฝ่าย

ระยะที่ 2 องค์กรที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน (The Functionally Integrated Company)

ในระยะนี้องค์กรจะเริ่มจัดตั้งเป็นบริษัท โดยในองค์กรได้มีการรวบรวมหน้าที่/ลักษณะงานที่เป็นประเภทเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันไว้ในกลุ่มงาน/ฝ่ายเดียวกัน ซึ่งจะไม่มีแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากกันอย่างเด็ดขาด

ระยะที่ 3 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Internally Integrated Company)

ในระยะนี้องค์กรมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของตนอย่างต่อเนื่องจากระยะที่ 2 โดยฝ่ายต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทำให้มีการติดต่อประสานงานเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายงานมากขึ้น การทำงานจึงมีความต่อเนื่องกันเหมือนห่วงโซ่

ระยะที่ 4 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Externally Integrated Company)

ระยะนี้เป็นระยะที่บริษัทก้าวเข้าสู่รูปแบบการบริหารแบบซัพพลายเชนอย่างเต็มตัว โดยบริษัทได้ปรับโครงสร้างการบริหารแบบซัพพลายเชนภายในบริษัทของตนเองไว้เรียบร้อยแล้ว และเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การบริหารลูกโซ่อุปทานภายนอก โดยเข้าไปทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ในลักษณะที่เป็นเครือข่ายการทำงานเดียวกัน

การบริหารจัดการซัพพลายเชน

เป็นการจัดการที่ต้องอาศัยความร่วมมือของคู่ค้าที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชนเราเป็นสำคัญ องค์กรที่มีความรู้ในการบริหารจัดการดีควรต้องถ่ายทอดแนวคิดและวิธีการปรับปรุงระบบงานและการประสานงานระหว่างองค์กรให้แก่องค์กรอื่นๆ สิ่งที่ควรพิจารณาความสามารถในการประสานระบบงานระหว่างองค์กรใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่

- 1. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการระหว่างกลุ่ม suppliers (Supply-management interface capabilities)

    เพื่อให้ระบบปฏิบัติการโดยรวมมีต้นทุนต่ำที่สุด มีระบบโลจิสติกส์ในการส่งผ่านวัตถุดิบ ผลิต และส่งมอบสินค้าที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้ประสิทธิภาพ

- 2. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า(Demand-management interface capabilities)

    เป็นระบบการบริหารจัดการเพื่อการให้บริการที่มีคุณภาพและการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการขาย เพื่อสร้างความได้เปรียบเพิ่มขึ้นในเชิงการแข่งขัน

- 3. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการสารสนเทศ (Information management capabilities)

ระบบสื่อสารระหว่างองค์กรในซัพพลายเชนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ก่อนที่บริษัทข้ามชาติจะเริ่มต้นประกอบการในประเทศต่างๆ จะต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐานทาง IT

ปัญหาของการจัดการซัพพลายเชน

1. ปัญหาจากการพยากรณ์  เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการจัดการซัพพลายเชน ซึ่งการพยากรณ์ที่ผิดพลาดมีส่วนสำคัญที่ทำให้การวางแผนการผลิตผิดพลาด และอาจจะทำให้ผู้ผลิตมีสินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าที่เกิดขึ้น

2. ปัญหาในกระบวนการผลิต  ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ เช่น เครื่องจักรเสียทำให้ต้องเสียเวลาส่วนหนึ่งในการซ่อมและปรับตั้งเครื่องจักร

3. ปัญหาด้านคุณภาพ อาจจะส่งผลให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงัก และทำให้ไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ตามที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นระบบการขนส่งที่ไม่มีคุณภาพสามารถส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ในโซ่อุปทานได้

4. ปัญหาในการส่งมอบสินค้า การส่งต่องานระหว่างทำที่ล่าช้าตามไปด้วยในกรณีที่ไม่สามารถปรับตารางการผลิตได้ทัน ยิ่งไปกว่านั้น การส่งมอบสินค้าสำเร็จรูปให้ลูกค้าล่าช้าจะส่งผลกระทบต่อระดับการให้บริการลูกค้าและความสามารถในการแข่งขันของกิจการ  

5. ปัญหาด้านสารสนเทศ สารสนเทศที่ผิดพลาดมีผลกระทบต่อการจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งทำให้การผลิตและการส่งมอบสินค้าผิดไปจากที่กำหนดไว้

6. ปัญหาจากลูกค้า ในบางครั้งผู้ผลิตได้ทำการผลิตสินค้าไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ได้รับการยกเลิกคำสั่งซื้อจากลูกค้าในเวลาต่อมา จึงทำให้เกิดต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าคงคลังส่วนนั้นไว้

Bullwhip Effect

ปัญหาที่เกิดจากความแปรปรวนเล็กน้อยของความต้องการถูกนำมาขยาย เมื่อส่งข้อมูลกลับต้นทาง

เทคโนโลยีสารสนเทศในซัพพลายเชน

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Technology) โดยเฉพาะทางด้านไอที ฮาร์แวร์ และซอฟแวร์ มาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการให้ระบบซัพพลายเชนมีความต่อเนื่องไม่ติดขัด ด้วยการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเชื่อมต่อกัน ก่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องในการจัดเก็บและส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานต่างๆ ในระบบห่วงโซ่อุปทาน โดยปัจจุบันเทคโนโลยีที่นิยมใช้ในระบบซัพพลายเชนได้แก่

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)

หรือในบางครั้งเรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เป็นการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการทางธุรกิจและการดำเนินงานระหว่างธุรกิจกับธุรกิจและระหว่างบุคคลกับธุรกิจ ในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) จะมีการทำธุรกรรมผ่านสื่อต่างๆ ทางอิเล็กส์ทรอนิกส์

การดำเนินธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์กับซัพพลายเออร์และลูกค้าประโยชน์ที่ได้รับจากการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์มีหลายประการ เช่น

 - เกิดการประหยัดต้นทุน เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยี
     แทนแรงงานคน ซึ่งทำให้ราคาของสินค้าลดลง

  - ลดการใช้คนกลางในการดำเนินธุรกิจ เช่น ผู้ค้าส่ง  
     ผู้ค้าปลีก ผู้ให้บริการ ฯลฯ

  - ลดกิจกรรมที่ไม่จำเป็นระหว่างโซ่อุปทาน
     ทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากสารสนเทศมากขึ้น

การใช้บาร์โค้ด (Barcode)

บาร์โค้ดหรือรหัสแท่ง เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปของแท่งบาร์ โดยจะประกอบไปด้วยบาร์ที่มีสีเข้มและช่องว่างสีอ่อน ซึ่งบาร์เหล่านี้จะเป็นตัวแทนของตัวเลขและตัวอักษร สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Scanner
ปัจจุบันรหัสสากร (EAN Thailand) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นสถาบันที่ควบคุม ดูแลและส่งเสริมการใช้ระบบมาตรฐาน ECC : UCC (ย่อมาจาก European Article Number : Uniform Code Council)





การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์  (EDI : Electronic Data Interchange)

เป็นเทคโนโลยีอีกประการหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการซัพพลายเชน เป็นระบบถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งในรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูลต่างก็สามารถเข้าถึง EDI message ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาในการบันทึกข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์

การใช้ซอฟแวร์ Application SCM


การนำซอฟแวร์มาพัฒนาและประยุกต์ใช้งานในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นซอฟแวร์ที่จัดเป็นระบบศูนย์กลางขององค์กรทั้งหมด ทำหน้าที่ประสานงานหลักๆ ในด้านต่างๆ เช่น การเงิน การผลิต และการจัดคลังสินค้า
Advance Planning and Scheduling จัดสร้างแผนการผลิตและจัดตารางเวลาโรงงานการผลิต ใช้เงื่อนไขข้อจำกัดและกฎเกณฑ์ทางธุรกิจในการปรับตารางให้ดีที่สุด

Inventory Planning วางแผนคลังสินค้าที่จำเป็นในแต่ละจุดเพื่อกระจายการจัดส่ง เพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาด
Customer Asset Management ใช้สำหรับจัดระบบการสื่อสารโต้ตอบกับลูกค้ารวมทั้งระบบขายอัตโนมัติและการให้บริการลูกค้า เป็นต้น

 ซึ่งในปัจจุบันผู้ผลิตระบบ ERP หลักๆ มีอยู่ 5 รายด้วยกัน คือ SAP, ORACLE, Peoplesoft, J.D. Edwards และ Baan

ระบบ ERP

เป็นเทคโนโลยีบริหารกระบวนการธุรกิจโดยเฉพาะการเชื่อมโยง SCM โดยเน้นการบูรณาการกระบวนการหลักของธุรกิจเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกรรมประจำวัน และยังสนับสนุนกระบวนการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ด้วยการใช้สารสนเทศระหว่างพนักงานขายและฝ่ายปฏิบัติงาน

ระบบ POS และระบบ Barcode

ระบบ POS ของแต่ละสาขาก็จะส่งข้อมูลการขายสินค้าส่งกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่สำนักงานใหญ่ เมื่อทางสำนักงานใหญ่รวบรวมข้อมูลการขายสินค้าต่างๆ ของแต่ละสาขาแล้ว ก็จะทำการเปิดใบสั่งซื้อไปยังซัพพลายเออร์ผ่านระบบออนไลน์ให้กับซัพพลายเออร์รายย่อยและส่งให้ทางซัพพลายเออร์ผู้ผลิตและจัดส่งสินค้ามายังศูนย์กระจายสินค้า ก่อนที่ทางศูนย์กระจายสินค้าจะทำหน้าที่คัดแยกสินค้าและจัดส่งไปยังสาขาทั่วประเทศ

โดยสินค้านั้นจะใช้ Barcode เพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียดสินค้า เพราะจะทำให้บริษัททราบถึงข้อมูลรายละเอียดสินค้าผ่านรหัสใน Barcode

วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สรูปบทที่ 6 Bcom 4202 การจัดการธุรกิจอิเล็คทรอนิกส์

สรูปบทที่ 6 Bcom 4202 การจัดการธุรกิจอิเล็คทรอนิกส์


     กระบวนการ Supply Chain Management หรือ SCM เป็นกระบวนการของการบริหารทุกขั้นตอน นับ
ตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิต กระบวนการสั่งซื้อ จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้าให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกับสร้างระบบให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลที่ทำให้เกิดกระบวนการทำงานของแต่ละหน่วยงานส่งผ่านไปทั่วทั้งองค์การ การไหลเวียนของข้อมูลยังรวมไปถึงลูกค้า และผู้จัดส่งวัตถุดิบด้วย

กระบวนการ Supply Chain Management มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์การยกระดับความสามารถในการบริหาร เช่น การลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มผลิตภาพหรือการลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน ส่งเสริมความเติบโตของธุรกิจ เช่น การเพิ่มโอกาสในการออกสินค้าใหม่ให้เร็วขึ้น การเปิดตลาดใหม่ ๆ การสร้างความพอใจแก่ลูกค้ามากขึ้น ส่งเสริมความยั่งยืนของธุรกิจ เช่น การลดต้นทุนธุรกิจ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น

 Supply Chain Management  (SCM)  คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน


          ในการปรับตัวขององค์การเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานนั้น สิ่งที่สำคัญ คือ เพื่อให้องค์การมี ความสามารถในการบริหาร ความเติบโตของธุรกิจ และความยั่งยืนของธุรกิจ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ผังการทำงานในระบบ Supply Chain Management





สิ่งที่จะทําให้เข้าใจถึงหน้าที่ของการผลิตและวิธีการควบคุมการผลิตนั้ น เราจะต้องเข้าใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในกระบวนการผลิตอยู่ 2 สิ่งหลักๆ คือ
1. วัตถุดิบ (Materials)
2. สารสนเทศ (Information)

รูปแสดงการเคลื่อนไหวของวัตถุดิบและสารสนเทศ ซึ่งมีอยู่ในกระบวนการผลิตทุกแห่ง


ปัญหาคือความสนใจที่แต่กต่างกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น
- ลูกค้ามักต้องการสินค้าที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบและมีราคาถูก
- พนักงานในสายการผลิตอยากรู้คําสั่งที่ถูกต้อง
- ฝ่ ายจัดซื้อต้องการได้วัตถุดิบที่ถูกต้อง มีคุณภาพ
- ผู้จําหน่ายวัตถุดิบต้องการคําสั่งซื้ อที่ถูกต้องเพื่อจะได้จัดส่งได้ถูกต้อง
- ผู้จัดการต้องการรายงานที่ถูกต้อง





สรูปบทที่ 5 Bcom 4202 การจัดการธุรกิจอิเล็คทรอนิกส์

E-commerce



      ธุึรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business) คือกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่า องค์กรเครือข่ายร่วม (Internet worked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)

        - การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand,1999)
   
        - การกระจาย การตลาด การขาย หรือการข่นส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998)
   
        - ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร ซึ่่งใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ  และครอบคลุมรูปแบบทางการเงิน เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
   
        - ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดังองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวลผล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997)

        - การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวลผล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ , การข่นส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเ้นื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ฯลฯ

สรุปการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)

      การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุึกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้า และบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่ิอินเตอร์เน็ต เป็นต้น  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงนขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับสินค้า เป็นต้น และนอกจากนี้ ยังลดข้อจำกัดด้านระยะทางและเวลาลงได้ด้วย

สรุปบทที่ 4 Bcom 4202 การจัดการธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

E-business strategy

ความหมายของ Strategy    
การกำหนดทิศทาง และ แนวทางในการปฏิบัติ ในอนาคต ขององค์กร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ได้วางไว้
ความหมายของ E-Strategy
วิธีการที่จะทำให้กลยุทธ์ขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยการนำการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งาน ทั้งการสื่อสารภายในองค์กร และ การสื่อสารภายนอกองค์กร
Business Strategy
 คือ กลยุทธ์ที่จะเชื่อมให้ แบบจำลองทางธุรกิจ เป็นจริงได้ ทำยังไงให้ การสร้าง มูลค่า นั้นเป็นจริงได้ แล้วทำยังไงที่จะส่ง มูลค่า นั้นให้กับลูกค้าได้ดีที่สุด ขั้นตอนกลยุทธ์หลักในการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง 4 ขั้นตอนดังนี้
   -Strategic evaluation : กลยุทธ์การประเมิน
   -Strategic objectives : กลยุทธ์การวางแผนวัตถุประสงค์
   -Strategy definition : กลยุทธ์การกำหนดนิยาม
   -Strategy implementation : กลยุทธ์การดำเนินงาน
กลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business Strategies)
สรุปปัจจัยสำคัญของกลยุทธ์ที่สามารถนำมาใช้ได้ซึ่งก็คือ          
   -ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในตลาดขณะนี้หรือไม่
   -กำหนดนิยามว่าจะไปถึงวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างไร
   -กำหนดการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
   -เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้เปรียบคู่ค้าในตลาด
   -จัดหาแผนงานระยะยาวเพื่อพัฒนาองค์กร
 การใช้ช่องทางการค้าที่ถูกต้อง สามารถสรุปได้ดังนี้
    -เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้อง
    -ใช้ช่องทางที่ถูกต้อง
    -ใช้ข้อความที่จะสื่ออย่างถูกต้อง
    -ใช้ในเวลาที่ถูกต้อง
E-channel strategies
E-Channel  ย่อมาจาก electronic channels คือ การสร้างช่องทางใหม่ๆ ในการกระจายสินค้า ทั้งจากลูกค้า และคู่ค้า  โดยที่ช่องทางทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถกำหนดวิธีการที่ใช้ทำงานร่วมกับช่องทางอื่นๆจากหลายช่องทางของกลยุทธ์   E-Business
multi-channel e-business strategy
กลยุทธ์หลายช่องทาง e - business เป็นการกำหนดวิธีการทางการตลาดที่แตกต่าง และ ช่องทางของห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นจึงควรมีการบูรณาการ และ ทุกๆกลยุทธ์ควรจะสนับสนุนซึ่งกัน
S - Social คือ สภาพและกระแสสังคมและชุมชนที่ล้อมรอบองค์กร
T - Technology คือ แนวโน้มของพัฒนาการด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับองค์การ
E - Economic คือ สภาพและแนวโน้มเศรษฐกิจ
P - Politics คือ สภาพของการเมือง รวมทั้งกฎหมายและนโยบายทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการดำเนิน  งานขององค์การ
I - International คือ แนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์การ
Strategy Formulation
   -การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อหาโอกาสและภัยคุกคาม
   -การวิเคราะห์สถานการณ์ภายในเพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อน
   -การกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การในระยะของแผนกลยุทธ์
   -การวิเคราะห์และเลือกกำหนดกลยุทธ์และแนวทางพัฒนาองค์การ

Strategic Implementation
   -การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน
   -การวางแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ที่ระบุกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการ
   -การปรับปรุง พัฒนาองค์การ เช่น ในด้านโครงสร้าง ระบบงาน ทรัพยากรบุคคล วัฒนธรรมองค์การและ ปัจจัยการบริการต่างๆ ในองค์การ
Strategic Control and Evaluation
   -การติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์
   -การติดตามสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ทีอาจเปลี่ยนแปลงไปซึ่งอาจทำให้ต้องมีการปรับแผนกลยุทธ์
แผนกลยุทธ์(Strategic Plan )คือ
   -เอกสารที่ระบุวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ต่างๆ
   -เป็นแผนระยะยาวที่บ่งบอกทิศทางการดำเนินขององค์กร
   -เป็นแผนที่จัดทำขึ้นจากการวิเคราะห์สภาพภายนอก

สรุปบทที่ 3 Bcom 4202 การจัดการธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

Business Environment



สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่
      - สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ Internal Environment คือสภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกําหนด และ ควบคุมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ โปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของ
ธุรกิจ ในการนําไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน

     - สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ External  Environment  ภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยกลุ่มนี้ หมายถึง ปัจจัยยังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด ถือ
ว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้แต่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด คือสร้างโอกาสหรือ อุปสรรคแก่ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค
สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับจุลภาค (Micro External Environment)
คือ ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถ ควบคุมได้ แต่สามารถเลือก ที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
  -ตลาด หรือลูกค้า (Market)
  -ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ (Suppliers)
  -คนกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries)
  -สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์ (Publics)
สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค (Macro External Environment)
คือ สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดําเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์กรธุรกิจไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แบ่งออกได้เป็น 4 ประการ ได้แก่
-ด้านการเมืองและกฎหมาย
-เศรษฐกิจ
-สังคม
-เทคโนโลย
S (Strengths) จุดแข็ง
     เป็นปัจจัยภายในที่สามารถควบคุมได้ตามศักยภาพของธุรกิจที่มีอยู่ จุดแข็งนี้จะก่อให้เกิดผลดีต่อ
ธุรกิจ ซึ่งส่งผลมาจากการบริหารงานภายในระหว่าง ผู้บริหารและบุคลากร หรืออาจมาจากความได้เปรียบในด้านทรัพยากรทางการบริหารต่างๆ เช่น มีสถานภาพทางการเงินที่มั่นคง ที่ตั้งอยู่ใกล้ทั้งแหล่งวัตถุดิบและแหล่งจัดจําหน่าย บุคลากรมีประสบการณ์และความสามารถสูง ฯลฯ
W (Weaknesses) จุดอ่อน
    เป็นปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาภายในธุรกิจ อันเนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ข้อจํากัดบางประการของศักยภาพทางธุรกิจ ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลร้ายถ้าไม่รีบดําเนินการแก้ไข เช่น ขาดสภาพคล่องทางการเงิน สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพไม่คงที่ขาดการประสานงานที่ดีภายในองค์กร ฯลฯ

O (Opportunities) โอกาส
    เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ แต่เป็นสภาวการณ์
แวดล้อมอันส่งผลดีให้กับธุรกิจโดยบังเอิญ เช่น กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น นโยบายของรัฐให้การสนับสนุนธุรกิจประเภทนี้ สินค้าของคู่แข่งมีคุณภาพต่ํา ฯลฯ
T (Threats) อุปสรรค
    เป็นปัจจัยภาย นอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือ ไม่เกิดขึ้นได้และเป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันเลวร้ายที่ส่งผลกระทบให้ธุรกิจ เสียหาย เช่น รัฐบาลขึ้นภาษี ปัญหาสภาพเศรษฐกิจตกต่ํา วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น เกิดภัยสงครามหรือภัยธรรมชาติ ฯลฯ
การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix



E-environment
Social Factor สภาวะแวดล้อมทางสังคมเป็น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคโครงสร้างทางสังคมประกอบไปด้วย ครอบครัว ชุมชน ไปจนถึงระดับประเทศ ซึ่งในแต่ละสังคมก็จะมีทัศนคติทางสังคม ค่านิยม และวัฒนธรรม ที่ แตกต่างกัน
Political and Legal Factor สภาวะแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายประกอบธุรกิจของประเทศ
Economic Factor สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ(Economic) เศรษฐกิจเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นปริมาณการจัดสรรและการใช้ทรัพยากร ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีแรงผลักดันที่สำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ ซึ่งมีปัจจัยที่จะต้อง นำมาศึกษาหลายปัจจัย เช่น  ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ ค่าเงินบาท อัตราการว่างงาน ภาวะราคาน้ำมัน ปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ย (Gross Domestic Product : GDP) นับได้ว่าเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นการชี้นำว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไรและจะส่งผลกระทบต่ออำนาจในการบริโภคของประชากรโดยรวมในทิศทางใด
Technological Factor สภาวะแวดล้อมทางเทคโนโลยี เป็นยุคความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางและความก้าวหน้าขององค์กรธุรกิจ เช่น การใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การใช้ชุดคำสั่ง (Software) เพื่อช่วยการจัดการทรัพยากรมนุษย์การนำเทคโนโลยี เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้แทนแรงงานของคน ส่งผลให้องค์กรต้องลดจำนวนพนักงานลงและต้องเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานที่เหลือ

สรุปบทที่ 2 Bcom 4202 การจัดการธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

E-business infrastructure หมายถึง การรวมกันของฮาร์ดแวร์เช่น Server, Client PC ในองค์กรรวมถึงการใช้เครือข่ายในการเชื่อมโยงฮาร์ดแวร์เหล่านี้และการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการส่งมอบบริการให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ในบริษัทและยังรวมถึงคู่ค้าและลูกค้าของตน ซึ่งคำว่า Infrastructure ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมทางด้าน Hardware , Software และ เครือข่าย ที่มีอยู่ในบริษัทด้วย และท้ายที่สุด ยังรวมไปถึง กระบวนการในการนำเข้าข้อมูลและเอกสารเข้าสู่ระบบ E-business ด้วย

ส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐาน E-business infrastructure components





Web technology
คำว่า World Wide Web, หรือเรียกสั้นๆว่า ‘web’ คือขั้นตอนมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อมูลสาธารณะบนโลกอินเทอร์เน็ต โดยรูปแบบเอกสารพื้นฐานคือ HTML (Hypertext Markup Language) หรือ การบริการหนึ่งในรูปแบบต่างๆของการให้บริการของอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้พัฒนาเว็บ หรือผู้ที่ต้องการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านเว็บ หรือ อินเตอร์เน็ต แล้วจะต้องรู้และเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับโปรโตคอล (Protocal) - มาตรฐานในการรับส่งข้อมูล



Evolution Web 1.0, Web 2.0 to Web 3.0


Web 1.0 = Read Only, Static Data with simple markup
Web 1.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่านได้อย่างเดียว ( Read-only ) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถที่สามารถแก้ไขข้อมูล หน้าตาของเว็บไซต์ได้เฉพาะผู้ดูแลเว็บไซต์ (Web master )เป็นเว็บที่ผู้เข้าเยี่ยมชมไม่สามารถมีส่วนร่วมกับเว็บดังกล่าวได้ ถือว่าเป็นเว็บรุ่นแรกของเทคโนโลยีเว็บไซต์ ส่วนมากจะใช้ภาษา html (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาสำหรับการพัฒนา Web 1.0 นั้นเป็นเรื่องของการที่ผู้ให้บริการนำเสนอข้อมูลให้กับบุคคลทั่วไป โดยทำในลักษณะเดียวกับหนังสือทั่วไป ที่ผู้อ่านมีส่วนร่วมน้อยมากในการเติมแต่งข้อมูล ต่อมาเริ่มมีการนำเอา Java Script และภาษา PHP (Hyper Text preprocessor) มาใช้งาน
Web 2.0 = Read/Write, Dynamic Data through Web Services
Web 2.0 คือ ผู้เข้าชมสามารถอ่านและเขียนได้ ( Read-Write ) เป็นเทคโนโเว็บไซต์ที่พัฒนาต่อจาก web 1.0 เป็นเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ เช่น เว็บบอร์ด เว็บบล็อก วิพีเดีย เป็นต้น ซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลมาเกี่ยวข้อกับเทคโนโลยีนี้ด้วย บุคคลทั่วไปคือผู้สร้างเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ จาก Web 2.0 ในเปลือกนัท ทำให้เราเข้าใจว่าในยุคที่ 2 นั้นเป็นเรื่องของการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง โดยการสร้างเสริมข้อมูลสารสนเทศ ให้มีคุณค่าและมีข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด ดังตัวอย่างที่เป็นสิ่งที่ทุกคนคงรู้จักกันดีอย่าง Wikipedia ทำให้ความรู้ถูกต่อยอดไปอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลทุกอย่างได้มาจากการเติมแต่งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เกิดจากการคานอำนาจของข้อมูลของแต่ละบุคคลทำให้ข้อมูลนั้นถูกต้องมากที่สุด และจะถูกมากขึ้นเมื่อเรื่องนั้นถูกขัดเกลามาตามระยะเวลายาวนาน



Web 3.0 = Read/Write/Relate, Data with structured Metadata + managed identity
Web 3.0 เป็นการนำแนวคิดของ Web 2.0 มาทำให้ Web นั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึงข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) ทำให้เว็บกลายเป็น Semantic Web คือ ตัว Web จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น แล้วให้ Tags ตามความเหมาะสมให้เราแทน โดยข้อมูลแต่ละ Tag จะมีความสัมพันธ์กับอีก Tag หนึ่งโดยปริยาย ทำให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นฐานข้อมูล ความรู้ขนาดใหญ่ ที่ข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบมากขึ้น Web 3.0 จะพัฒนาไปในลักษณะ Segment of One คือ Segmentที่มีบุคคลแค่คนเดียว หรือ ตอบโจทย์ความเป็นส่วนบุคคล เช่น อยากไปเที่ยวภูเขาไฟฟูจิ เมื่อค้นข้อมูลแล้วเว็บไซต์จะ เชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดออกมา ไม่ว่าจะจากสายการบินต่างๆ แพ็กเกจไหนดีที่สุด และนำมาเช็ค กับตารางของผู้ใช้ว่าตารางเวลาตรงกันไหม หรือจะนำไปเช็คกับตารางของเพื่อนที่ญี่ปุ่นใน Social Network เพื่อนัดเวลาที่ตรงกันเพื่อพบปะทานข้าวร่วมกันก็ได้ ในยุคสื่อดิจิตอล
เว็บ 3.0 ที่ได้รับการพัฒนา จะประกอบด้วย
1. AI (Artificial Intelligence)
2. semantic web
3. Automated reasoning
4. semantic wiki
5. ontology language หรือ OWL


web 4.0 หรือที่เรียกกันว่า “A Symbiotic web” (Ubiquitous Web) คือ web ที่มีทำงานแบบ Artificial Intelligence (AI) หมายถึง การสร้างให้คอมพิวเตอร์ให้สามารถคิดได้ (Human mind & Machines หรือ Human & Robot coexistence) มีความฉลาดมากขึ้น ในการอ่านทั้งเนื้อหา (text) และรูปภาพ (graphic) และสามารถตอบสนองด้วยการคำนวณ หรือ สามารถตัดสินใจได้ว่าจะ load ข้อมูลใดที่จะให้ประสิทธิภาพดีที่สุดมาให้ก่อน  และมีรูปแบบการนำมาแสดงที่รวดเร็ว

     Web 4.0 นั้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ Ubiquity, Identity และ Connection กล่าวคือ จะพบได้ทุกหนทุกแห่ง ไม่จำกัดว่าจะเป็น Device ใด สามารถระบุตัวตนของผู้ใช้งานได้อย่างแน่ชัด รวมถึงอาจจะ Integrate ไปกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ช่วยในการระบุตัวตน เช่น GPS และก็สามารถใช้งาน ได้ทุกหนทุกแห่ง สามารถเชื่อมต่อได้ง่ายจนไม่รู้สึกถึงความยุ่งยากใด ในระหว่างการทำงานหนึ่งๆ อาจจะมีข้อความแทรกขึ้นมาทันทีก็ได้ ลักษณะของ Web 4.0 จะไม่ได้มองไปที่ “ข้อมูล” อีกต่อไป เพราะจะก้าวข้ามกลายเป็น Activity หรือกิจกรรมแทน เพราะได้ผ่านจุดของ Web 3.0 ที่สามารถ สื่อสารกันไปแล้ว ข้อมูลทุกอย่างจึงแลกเปลี่ยนได้อย่างอิสระจนมองข้ามมันไปได้ว่าข้อมูลอยู่ที่ไหนหรือมาจากไหน แต่กลับไปสนใจแทนว่า หากจะทำกิจกรรมหนึ่งๆ มีที่ไหนที่มี Application ที่จะสนับสนุนกิจกรรม ที่ผู้ใช้งานต้องการได้ เช่น หากต้องการจะซื้อเสื้อ ข้อมูลเสื้อจากทุกๆ แหล่งที่รองรับกิจกรรมนี้ก็ จะถูกส่งมารวมกัน โดยอาจมีข้อมูลประกอบว่าร้านอยู่ที่ไหนจาก Application ด้านข้อมูลสถานที่ และสามารถเลือกผู้ส่งสินค้าได้ จาก Application จากผู้ให้บริการด้านการส่ง เป็นต้น


ลักษณะของ Web 4.0
1) More access to data (สามารถเข้าถึง data ได้มากขึ้น)
1.1 Access to more products (เข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้หลายตัวมากขึ้น)
อย่างเช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ อุปกรณ์การกีฬา
1.2 Access to more images (เข้าถึงรูปภาพได้มากขึ้น)
1.3 All customer reviews (สามารถดึงคำติชมของลูกค้าทุกคน)
1.4 More product attributes (สามารถเข้าถึงข้อมูลของสินค้ามากขึ้น)

2) Extended cabilities (มีความสามารถมากขึ้น)
2.1 Extended Search functionality (ค้นหาข้อมูลด้วยรายละเอียดมากขึ้น)
2.2 Save for Later remote shopping cart (เลือกสินค้าโดยที่ไม่ใส่ตะกร้าได้)
2.3 Wish list search (สามารถค้นหาสินค้าในรายการที่ผู้อื่นต้องการ)

3) Improved usability
3.1 More documentation and code samples (มีคู่มือการใช้และโปรแกรมตัวอย่างมากขึ้น)
3.2 Localized error messages. New error messages include very specific information about errors in your requests and provide troubleshooting guidelines (error messagesมีข้อมูลมากขึ้นที่บอกถึงความผิดพลาดและช่วยบอกถึงวิธีแก้)
3.3 Built-in help functionality ทำให้ผู้พัฒนาสามารถเข้าถึง API ได้ง่าย ช่วยในการเรียนรู้และการนำไปใช้

สรุปบทที่ 1 Bcom 4202 การจัดการธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

สรุปบทที่ 1 Bcom 4202 การจัดการธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์



ผลกระทบของการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจในปัจจุบัน

    - ความนิยมใช้ Social Network และ Virtual World มีมากขึ้น
    - รูปแบบการนำเสนอบนเว็บไซต์มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมมากขึ้น
    - มีการพัฒนาในด้านของ Mobile Device ทำให้ Mobile Commerce มีแน้วโน้มมากขึ้น
    - LBS : Location Based Service เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการดำรงชีวิตประจำวัน

โลกเสมือน (Virtual World) การจำลองสภาพแวดล้อม ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้งานหลายคน พร้อม ๆ กันผ่านเครือข่ายออนไลน์

Location Based Service (LBS) เป็นบริการอย่างหนึ่งที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไร้สาย ที่ทำให้บุคคลหรือองค์กรอื่น ๆ ระบุตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้อุปกรณ์ไร้สายได้อย่างแม่นยำ

บริการเครือข่ายสังคม (Social Network Service) เป็นรูปแบบของการสร้างสังคมบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยเป็นที่รวบรวมของกลุ่มคนที่เชื่อมโยงกัน โดยที่นิยมเช่น Hi5   Facebook เป็นต้น โดยในยุคปัจจุบัน มีการหาผลประโยชน์ คือ การหาเงินจากการโฆษณา และการเล่นเกมส์

ในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว หากยังไม่มีการปรับหรือเปลี่ยนแปลงองค์กรย่อมจะไม่มีทางที่ประสบผลสำเร็จได้

ความแตกต่างระหว่าง E-Commerce กับ E-Business

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับองค์กร ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บคลังสินค้า

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic-Business) คือ การดำเนินกิจกรรมทาง "ธุรกิจ" ต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการ
ของคู่ค้า

E-business คือ
e-Business นั้น คือ การดำเนินกิจกรรมทาง “ธุรกิจ”ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ
และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลจะมีคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ อาทิ
BI=Business Intelligence:
การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด ข้อมูลลูกค้า และ คู่แข่งขัน
EC=E-Commerce:
เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต
CRM=Customer Relationship Management:
การบริหารจัดการ การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการ และ บริษัท – ระบบ CRM จะใช้ไอทีช่วยดำเนินงาน และ จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า
SCM=Supply Chain Management:
การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค
ERP=Enterprise Resource Planning:
กระบวนการของสำนักงานส่วนหลัง และ การผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ การจัดการใบส่งของ การจัดสินค้าคงคลัง แผนและการจัดการการผลิต– ระบบ ERP จะช่วยให้ประบวนการดังกล่าวมี
ประสิทธิภาพและลดต้นทุน