วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สรุปบทที่ 2 Bcom 4202 การจัดการธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

E-business infrastructure หมายถึง การรวมกันของฮาร์ดแวร์เช่น Server, Client PC ในองค์กรรวมถึงการใช้เครือข่ายในการเชื่อมโยงฮาร์ดแวร์เหล่านี้และการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการส่งมอบบริการให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ในบริษัทและยังรวมถึงคู่ค้าและลูกค้าของตน ซึ่งคำว่า Infrastructure ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมทางด้าน Hardware , Software และ เครือข่าย ที่มีอยู่ในบริษัทด้วย และท้ายที่สุด ยังรวมไปถึง กระบวนการในการนำเข้าข้อมูลและเอกสารเข้าสู่ระบบ E-business ด้วย

ส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐาน E-business infrastructure components





Web technology
คำว่า World Wide Web, หรือเรียกสั้นๆว่า ‘web’ คือขั้นตอนมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อมูลสาธารณะบนโลกอินเทอร์เน็ต โดยรูปแบบเอกสารพื้นฐานคือ HTML (Hypertext Markup Language) หรือ การบริการหนึ่งในรูปแบบต่างๆของการให้บริการของอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้พัฒนาเว็บ หรือผู้ที่ต้องการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านเว็บ หรือ อินเตอร์เน็ต แล้วจะต้องรู้และเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับโปรโตคอล (Protocal) - มาตรฐานในการรับส่งข้อมูล



Evolution Web 1.0, Web 2.0 to Web 3.0


Web 1.0 = Read Only, Static Data with simple markup
Web 1.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่านได้อย่างเดียว ( Read-only ) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถที่สามารถแก้ไขข้อมูล หน้าตาของเว็บไซต์ได้เฉพาะผู้ดูแลเว็บไซต์ (Web master )เป็นเว็บที่ผู้เข้าเยี่ยมชมไม่สามารถมีส่วนร่วมกับเว็บดังกล่าวได้ ถือว่าเป็นเว็บรุ่นแรกของเทคโนโลยีเว็บไซต์ ส่วนมากจะใช้ภาษา html (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาสำหรับการพัฒนา Web 1.0 นั้นเป็นเรื่องของการที่ผู้ให้บริการนำเสนอข้อมูลให้กับบุคคลทั่วไป โดยทำในลักษณะเดียวกับหนังสือทั่วไป ที่ผู้อ่านมีส่วนร่วมน้อยมากในการเติมแต่งข้อมูล ต่อมาเริ่มมีการนำเอา Java Script และภาษา PHP (Hyper Text preprocessor) มาใช้งาน
Web 2.0 = Read/Write, Dynamic Data through Web Services
Web 2.0 คือ ผู้เข้าชมสามารถอ่านและเขียนได้ ( Read-Write ) เป็นเทคโนโเว็บไซต์ที่พัฒนาต่อจาก web 1.0 เป็นเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ เช่น เว็บบอร์ด เว็บบล็อก วิพีเดีย เป็นต้น ซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลมาเกี่ยวข้อกับเทคโนโลยีนี้ด้วย บุคคลทั่วไปคือผู้สร้างเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ จาก Web 2.0 ในเปลือกนัท ทำให้เราเข้าใจว่าในยุคที่ 2 นั้นเป็นเรื่องของการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง โดยการสร้างเสริมข้อมูลสารสนเทศ ให้มีคุณค่าและมีข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด ดังตัวอย่างที่เป็นสิ่งที่ทุกคนคงรู้จักกันดีอย่าง Wikipedia ทำให้ความรู้ถูกต่อยอดไปอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลทุกอย่างได้มาจากการเติมแต่งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เกิดจากการคานอำนาจของข้อมูลของแต่ละบุคคลทำให้ข้อมูลนั้นถูกต้องมากที่สุด และจะถูกมากขึ้นเมื่อเรื่องนั้นถูกขัดเกลามาตามระยะเวลายาวนาน



Web 3.0 = Read/Write/Relate, Data with structured Metadata + managed identity
Web 3.0 เป็นการนำแนวคิดของ Web 2.0 มาทำให้ Web นั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึงข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) ทำให้เว็บกลายเป็น Semantic Web คือ ตัว Web จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น แล้วให้ Tags ตามความเหมาะสมให้เราแทน โดยข้อมูลแต่ละ Tag จะมีความสัมพันธ์กับอีก Tag หนึ่งโดยปริยาย ทำให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นฐานข้อมูล ความรู้ขนาดใหญ่ ที่ข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบมากขึ้น Web 3.0 จะพัฒนาไปในลักษณะ Segment of One คือ Segmentที่มีบุคคลแค่คนเดียว หรือ ตอบโจทย์ความเป็นส่วนบุคคล เช่น อยากไปเที่ยวภูเขาไฟฟูจิ เมื่อค้นข้อมูลแล้วเว็บไซต์จะ เชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดออกมา ไม่ว่าจะจากสายการบินต่างๆ แพ็กเกจไหนดีที่สุด และนำมาเช็ค กับตารางของผู้ใช้ว่าตารางเวลาตรงกันไหม หรือจะนำไปเช็คกับตารางของเพื่อนที่ญี่ปุ่นใน Social Network เพื่อนัดเวลาที่ตรงกันเพื่อพบปะทานข้าวร่วมกันก็ได้ ในยุคสื่อดิจิตอล
เว็บ 3.0 ที่ได้รับการพัฒนา จะประกอบด้วย
1. AI (Artificial Intelligence)
2. semantic web
3. Automated reasoning
4. semantic wiki
5. ontology language หรือ OWL


web 4.0 หรือที่เรียกกันว่า “A Symbiotic web” (Ubiquitous Web) คือ web ที่มีทำงานแบบ Artificial Intelligence (AI) หมายถึง การสร้างให้คอมพิวเตอร์ให้สามารถคิดได้ (Human mind & Machines หรือ Human & Robot coexistence) มีความฉลาดมากขึ้น ในการอ่านทั้งเนื้อหา (text) และรูปภาพ (graphic) และสามารถตอบสนองด้วยการคำนวณ หรือ สามารถตัดสินใจได้ว่าจะ load ข้อมูลใดที่จะให้ประสิทธิภาพดีที่สุดมาให้ก่อน  และมีรูปแบบการนำมาแสดงที่รวดเร็ว

     Web 4.0 นั้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ Ubiquity, Identity และ Connection กล่าวคือ จะพบได้ทุกหนทุกแห่ง ไม่จำกัดว่าจะเป็น Device ใด สามารถระบุตัวตนของผู้ใช้งานได้อย่างแน่ชัด รวมถึงอาจจะ Integrate ไปกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ช่วยในการระบุตัวตน เช่น GPS และก็สามารถใช้งาน ได้ทุกหนทุกแห่ง สามารถเชื่อมต่อได้ง่ายจนไม่รู้สึกถึงความยุ่งยากใด ในระหว่างการทำงานหนึ่งๆ อาจจะมีข้อความแทรกขึ้นมาทันทีก็ได้ ลักษณะของ Web 4.0 จะไม่ได้มองไปที่ “ข้อมูล” อีกต่อไป เพราะจะก้าวข้ามกลายเป็น Activity หรือกิจกรรมแทน เพราะได้ผ่านจุดของ Web 3.0 ที่สามารถ สื่อสารกันไปแล้ว ข้อมูลทุกอย่างจึงแลกเปลี่ยนได้อย่างอิสระจนมองข้ามมันไปได้ว่าข้อมูลอยู่ที่ไหนหรือมาจากไหน แต่กลับไปสนใจแทนว่า หากจะทำกิจกรรมหนึ่งๆ มีที่ไหนที่มี Application ที่จะสนับสนุนกิจกรรม ที่ผู้ใช้งานต้องการได้ เช่น หากต้องการจะซื้อเสื้อ ข้อมูลเสื้อจากทุกๆ แหล่งที่รองรับกิจกรรมนี้ก็ จะถูกส่งมารวมกัน โดยอาจมีข้อมูลประกอบว่าร้านอยู่ที่ไหนจาก Application ด้านข้อมูลสถานที่ และสามารถเลือกผู้ส่งสินค้าได้ จาก Application จากผู้ให้บริการด้านการส่ง เป็นต้น


ลักษณะของ Web 4.0
1) More access to data (สามารถเข้าถึง data ได้มากขึ้น)
1.1 Access to more products (เข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้หลายตัวมากขึ้น)
อย่างเช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ อุปกรณ์การกีฬา
1.2 Access to more images (เข้าถึงรูปภาพได้มากขึ้น)
1.3 All customer reviews (สามารถดึงคำติชมของลูกค้าทุกคน)
1.4 More product attributes (สามารถเข้าถึงข้อมูลของสินค้ามากขึ้น)

2) Extended cabilities (มีความสามารถมากขึ้น)
2.1 Extended Search functionality (ค้นหาข้อมูลด้วยรายละเอียดมากขึ้น)
2.2 Save for Later remote shopping cart (เลือกสินค้าโดยที่ไม่ใส่ตะกร้าได้)
2.3 Wish list search (สามารถค้นหาสินค้าในรายการที่ผู้อื่นต้องการ)

3) Improved usability
3.1 More documentation and code samples (มีคู่มือการใช้และโปรแกรมตัวอย่างมากขึ้น)
3.2 Localized error messages. New error messages include very specific information about errors in your requests and provide troubleshooting guidelines (error messagesมีข้อมูลมากขึ้นที่บอกถึงความผิดพลาดและช่วยบอกถึงวิธีแก้)
3.3 Built-in help functionality ทำให้ผู้พัฒนาสามารถเข้าถึง API ได้ง่าย ช่วยในการเรียนรู้และการนำไปใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น